คีโต จะเป็น Brunch ได้มั้ย
คุณหมอบอกว่า ต้องทานให้อิ่ม เพื่อจะได้ไม่หิวในระหว่างมื้อ..
อาหารคีโต คือ เน้นโปรตีน และไขมันดี แป้ง-น้ำตาล ไม่เกิน 20 กรัมต่อมื้อ (ถ้าอลุ่มอล่วยก็ 50 กรัม)
วันนึงควรทานแค่ 2 มื้อ (รวบเช้ามาไว้มื้อกลางวันทีเดียว เป็น Brunch) ไม่ทานอะไรจุบจิบระหว่างมื้อ
ให้ทานให้อิ่มในมื้อทีเดียว ครบคุณค่าทางอาหารที่ควรเป็น (มีในบทเรียน ที่คุณหมอสอน)
เราจะเว้นอาหาร จำพวกพืชที่อยู่ในดินเป็นหัว พวกมัน ฟักทอง ฯลฯ เพราะมีแป้งเยอะ แต่ถ้าอยากทานจริงๆ
ก็ให้ระวังอย่าให้มากเกิน และ อย่าบ่อย เราจะเน้นผักสีเขียว ที่อยู่บนดิน ทานได้ไม่จำกัด...และปรุงสุกบ้าง ดิบบ้างต่อมื้อ..
เพื่อให้ได้สารอาหารและวิตะมินที่แตกต่าง ระหว่างผักสุกและผักสด ระหว่างมื้อดื่มน้ำเยอะๆ ประมาณ 3-5 ลิตรต่อวัน
เพื่อทดแทนการขาดน้ำ เพราะคนทานคีโตจะเข้าห้องน้ำบ่อย และสูญเสียแร่ธาตุไปกับน้ำที่ถ่ายออกมา
ในช่วงที่ร่างกายกำลังเปลี่ยนการเผาผลาญ ถ้ามีอาการมึนๆ คลื่นไส้ แก้ได้ด้วยการดื่มน้ำผสมเกลือ
สัดส่วนน้ำ 300ซีซี/ เกลือ 1 ช้อนชา (ควรเป็นเกลือชมพูจะดีกว่าเกลือขาว) 15 นาทีก็หาย
𝐒𝐮𝐧𝐝𝐚𝐲 𝐁𝐫𝐮𝐧𝐜𝐡 อาหารตัวท็อป
พร้อมสวมบทเป็นผู้เข้าแข่งขัน Chefวัยเก๋า ที่นี่
เอาใจ #สายเนื้อ ด้วยเนื้อคามุย จาก ฮอกไกโด
โอมาเสะสเตชันจาก 𝐾𝑖𝑠𝑠𝑢𝑖𝑠𝑒𝑛 มาให้เลย
ยกเมนูฮิตจาก 𝑌𝑎𝑜 𝑅𝑒𝑠𝑡𝑎𝑢𝑟𝑎𝑛𝑡 มาเพียบ
ไข่เจียวปูทอดหม้อ ก๋วยเตี๋ยวต้มยำกั้ง เมี่ยงปลาเผา และหมูย่างตรัง
พร้อมให้อิ่มอร่อยกันเมนู signature อย่าง 𝑺𝒆𝒂𝒇𝒐𝒐𝒅 𝒘𝒂𝒍𝒍 กองทัพอาหารทะเล
ที่มีให้เลือกสรรกว่า 15 ชนิด และของหวานสไตล์ไทยหลากหลายและขนมเค้กปลาญี่ปุ่น
แถมสามารถเข้าร่วม 𝐂𝐨𝐨𝐤𝐢𝐧𝐠 𝐂𝐥𝐚𝐬𝐬 ฟรี
โดยเชฟโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม จำกัด
เพียง 10 ท่านต่อวันเท่านั้น
คอลลาเจนคืออะไร? มันคือโปรตีนชนิดหนึ่ง ดีต่อร่างกายและผิวพรรณ เราพบเห็นมันได้บ่อยในอาหารจีน
พวก แพะเย็น, ตือคาตั่ง(หมูหนาว) หรือเวลาคุณเอาน้ำต้มกระดูกไปแช่ตู้เย็นแล้วเป็นวุ้น นั่นก็ใช่ครับ
แล้วทำไมไก่ต้มส่วนใหญ่ไม่ค่อยเห็นคอลลาเจนเป็นวุ้นแบบในรูป? ก่อนอื่นเข้าใจหลักการของคอลลาเจนก่อน
มันละลายได้ในน้ำร้อน และรัดตัวเป็นวุ้นเมื่อเย็น เมื่อคุณต้มเนื้อสัตว์หรือกระดูกสัตว์นานๆ
คอลลาเจนจะซึมออกมาอยู่ในซุป ทำให้พอแช่ซุปกระดูกที่คุณเคี่ยวนานๆในตู้เย็นข้ามคืน
มันจะเป็นวุ้นและไม่ค่อยหลงเหลือในเนื้อสัตว์
ทีนี้ถ้าคุณต้มไก่นานไป คอลลาเจนก็จะละลายออกมาอยู่ในน้ำต้มใช่ไหม? ทำให้ไก่ไม่เหลือคอลลาเจน
ขณะที่ถ้าต้มน้อยไป ไก่ก็จะดิบ แต่ก็ยังไม่เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดคอลลาเจนเป็นวุ้นใต้หนังได้หรอกนะ
หลักการต้มให้ได้แบบนี้คือ ไก่ต้องเป็นไก่ที่ดี และมีคอลลาเจนมากพอ จากนั้นก็ต้มในอุณหภูมิที่เหมาะสม
ไม่ร้อนและไม่นานจนเกินไป พออุณหภูมิไก่สุก ก็รีบเอาไก่ไปน็อคในน้ำแข็ง น้ำแข็งจะช็อคผิวหนังไก่
ทำให้อุณหภูมิลดลงอย่างรวดเร็ว คอลลาเจนที่อยู่ในเนื้อไก่ที่ควรจะไหลออกมาข้างนอกก็จะถูกล็อค
ไว้ใต้ผิวหนังและจับตัวเป็นวุ้น
ฉะนั้น ถ้าเนื้อไก่ส่วนด้านในสุก มันก็คือไก่ต้มสุก และต้มดี ยังคงมีคอลลาเจนใต้หนัง
ส่วนกรณีที่มีคนบอกว่า ไก่ไม่สุกๆๆๆ ผมขอถามคุณง่ายๆนะครับ….
“เป็นไปได้หรอ ที่คุณต้มไก่ทั้งชิ้น ความร้อนซึมเข้าจากผิวหนังไก่จนกล้ามเนื้อไก่ข้างในสุกขาว
แต่เนื้อใต้หนังที่ตื้นกว่ากล้ามเนื้อด้านในดันดิบ” ความร้อนมันกระจายจากนอกเข้าในนะครับ
มันจะเกิดชั้นดิบคั่นกลางระหว่างหนังไก่กับกล้ามเนื้อไก่ชั้นในที่สุกได้ยังไง
แค่คิดก็ตลกมากและจินตนาการสูงส่งจริงๆ
ผมเลยคิดทฤษฎี “ต้มไก่ให้หนังสุก เนื้อด้านในสุกขาว โดยที่ เนื้อไก่ใต้หนังยังดิบได้ 2 วิธี” ดังนี้
1. คุณต้องตั้งหม้อ ใส่น้ำแค่ครึ่งข้อนิ้วแบบการหุงข้าว แล้วเอาไก่ส่วนสะโพกลงต้มโดยเอาเนื้อลง
หนังขึ้น ให้มันต้มแค่ส่วนเนื้อโดยที่ส่วนหนังด้านบนยังดิบ จากนั้นพอไก่ด้านล่างสุก ดับไฟ
แล้วราดน้ำเดือดลงเฉพาะหนัง
2. คุณต้องต้มไก่ด้วยการใช้เครื่องอัลตร้าฟอร์เมอร์ ยิงคลื่นอัลตร้าซาวด์ลึกลงไปใต้ผิวหนังไก่
และกล้ามเนื้อชั้นนอก ลึกลงไป 2 ซ.ม. จนอุณหภูมิภายในสุกถึงระดับ 80 องศาขึ้นไป (เพื่อให้มันสุกขาว)
จากนั้นก็ราดน้ำร้อนลวกหนัง
ประเด็นคือ “ใครมันจะไปทำแบบนั้น(วะ)ครับ” 5555+
เอวังประการฉะนี้ครับ ความร้อนมันกระจายจากนอกเข้าในนะครับ
หาคำตอบกันด้วยวิทยาศาสตร์ อย่าใช้ความเชื่อนำความรู้ แล้วจะเอนจอยกับอาหารได้มากกว่าที่เคยครับ ❤️
เครดิตภาพและบทความ พรุ่งนี้ค่อยลด by กันย์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น